ก่อนที่วัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตกจะได้เข้ามาในเกาหลีเมื่อร้อยปีมา แล้วนั้น หญิงชาวเกาหลีจะสวมชุดฮันบกเป็นปกติทุกวัน ส่วนสุภาพบุรุษจะสวมชอโกรี (เสื้อนอกแบบเกาหลี) และพาจิ (กางเกงขายาว) ในขณะที่สุภาพสตรีสวมชอกอรีและชีมา (กระโปรง) ในปัจจุบันชุดประจำชาติฮันบก จะใช้สวมเฉพาะในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส วันซอลลัล (วันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า) ฮันบก ของผู้หญิงประกอบด้วย กระโปรงพันรอบตัว เรียกว่า “ชิมา” และเสื้อ “ชอกอรี” ซึ่งคล้ายเสื้อแจ็คเก็ตฮันบกของผู้ชายประกอบด้วยชอกอริเช่นกัน แต่สั้นกว่าของผู้หญิง และมีกางเกงเรียกว่า “บาจิ” ทั้งชุดของผู้หญิงและผู้ชายสวมคลุมทับด้วยเสื้อคลุมยาวเรียกว่า “ตุรุมากิ”
ส่วนประกอบของฮันบกจะมีดังนี้
저고리 (ชอ-โก-รี)
คือ เสื้อนอกท่อนบนของผู้หญิงที่มีความยาวระดับอก แขนยาวถึงข้อมือ (นี่อาจจะเป็นต้นแบบของแฟชั่นแจ็คเก็ตสั้นครึ่งตัวในสมัยนี้) ในสมัยก่อนชอโกรีมีความยาวถึงประมาณเอว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ชอโกรีก็ค่อยๆสั้นขึ้น จากเอวมาที่อก จนกระทั่งขึ้นไปเหนือเต้านม
ส่วนชอโกรีของผู้ชาย 남자 저고리 (นัม-จา ชอ-โก-รี) ต่างตรงที่เสื้อยาวถึงเอว
วิธีผูกโครึม (고름) ที่ชอโกรี
1. โครึมจะมีเส้นสั้นและเส้นยาว
2. ให้เอาเส้นที่สั้นทับด้านบนเส้นที่ยาวเป็นลักษณะคล้ายกากบาท
3. สอดเส้นสั้นเข้าที่ช่องว่างตรงกลางดึงขึ้นไปด้านบน
4. พลิกเส้นสั้นกลับลงมา ใช้มือข้างหนึ่งจับที่ต้นเส้นสั้น และมืออีกข้างหนึ่งดึงปลายเส้นสั้นไปทางด้านข้างออกจากตัว ให้เกิดช่องว่าง
5. พับเส้นยาวครึ่งหนึ่งแล้วสอดไปทางช่องว่างของเส้นสั้น
6. สอดเส้นสั้นลงไปด้านล่างของเส้นยาว ดึงให้ตึง จัดให้ความยาวพอดีกัน
7. เสร็จเรียบร้อย
.
치마 (ชี่-มา)
เป็นกระโปรงของผู้หญิงที่ปกปิดร่างกายต่อจากชอโกรี มีความยาวคลุมถึงข้อเท้า
속치마 (ซก-ชี่-มา)
กระโปรงชั้นในสำหรับผู้หญิง ใส่ไว้ชั้นในสุด
.
바지 (พา-จี)
กางเกงของผู้ชาย มีความยาวคลุมถึงข้อเท้าเช่นเดียวกัน
วิธีผูกแทนิม (대님) ที่ปลายพาจี
1. ดึงกลีบตรงกลางพาจีออกไปด้านหน้าให้ตึง
2. พับและพันกลีบไปด้านข้างหันออกจากลำตัว ดึงให้ตึง แน่น พอดีกับข้อเท้า
3. พันสายแทนิมไปรอบข้อเท้า 2 รอบ
4. ผูกแทนิมเหมือนริบบิ้นหรือโบว์ทั่วไป
5. ให้โบว์อยู่ด้านข้างเข้าหาลำตัว
6. เสร็จเรียบร้อย
.
두루마기 (ทู-รู-มา-กี)
เป็น เสื้อนอกขนาดยาวเลยเข่า มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใส่เมื่อออกไปข้างนอกหรือเพื่อสร้างความอบอุ่นในหน้าหนาวและถ้าเป็นขุนนาง หรือชนชั้นสูงศักดิ์ก็จะใส่ไว้ตลอด
.
마고자 (มา-โก-จา)
เป็นฮันบกอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม ต่างกับชอโกรีตรงที่คอปกเสื้อไม่ทับซ้อนกัน
อันนี้เป็นมาโกจาของผู้ชายจะมีความยาวเลยเอว
ส่วนอันนี้มาโกจาของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชายหน่อยคือเกือบถึงเอว
.
조끼 (โช-กี)
เป็นแจ็คเก็ตแขนกุดสวมทับชอโกรีอีกทีนึง ใส่ในโอกาสและเทศกาลต่างๆ
.
버선 (พอ-ซอน)
เป็นถุงเท้าสำหรับชุดฮันบก ดูแล้วป้อมๆสั้นๆเหมือนเท้าเด็กดีเนอะ
.
꽃신 (กด-ชิน)
หลังจากใส่ถุงเท้าแล้ว ก็ต้องทับด้วยไอ้นี่เลย เป็นรองเท้าสำหรับชุดฮันบกของผู้หญิง จะมีลายดอกไม้อยู่รอบๆรองเท้า
.
아얌 (อา-ยัม)
เป็นหมวกสำหรับผู้หญิง ใส่กับชุดฮันบก มีหางยาวไปถึงหลัง ไว้ป้องกันความเหน็บหนาว
.
갓 (คัด)
เป็น หมวกสำหรับผู้ชาย ทรงสูง มีสายรัดใต้คาง สีดำโปร่ง ส่วนใหญ่จะเป็นขุนนางหรือผู้ที่ทำงานอยู่ในวังใส่กัน ถ้าใครดูแดจังกึม ก็อาจจะเห็นหมวกอันนี้อยู่บ่อยๆ
เวลาที่ใส่คัด ผู้ชายก็จะทำผมทรงซังทู (상투) คือม้วนเป็นก้อนกลมๆไว้บนกระหม่อม (อุนจิอ๊ะป่าว?) แล้วก็มีผ้าคาดหัวด้วยล่ะ
.
비녀 (พี-นยอ)
ปิ่นปักผมของผู้หญิง ไว้ปักมวยผมด้านหลัง ความยาวและวัสดุที่ใช้จะขึ้นอยู่กับสถานะและบรรดาศักดิ์ของแต่ละคน
.
떨잠 (ตอล-จัม)
เป็น ปิ่นประดับผม ใช้กับทรงนางพญาพ่นไฟอ่ะ 55 คือทรงที่อยู่ในรูปด้านล่าง จะมีหัวใหญ่ๆ ประดับอย่างสวยงามด้วยเพชรนิลจินดา ผู้ที่ใส่คือ ผู้หญิงในราชวงศ์ เช่น เจ้าหญิงและพระชายา
.
노리개 (โน-รี-แก)
เป็น เครื่องประดับที่ไว้ห้อยติดกับชอโกรี จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า ในเรื่องแดจังกึม มีอยู่ตอนนึงพระเอกซื้อโนรีแกให้นางเอกด้วย คงประมาณที่ห้อยมือถือในสมัยนี้อ่ะนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น